18/10/2021 09:53 บริษัทรับก่อสร้าง , เข้าชม 580 ครั้ง
Rate this item
(Admin)

รั้ว ถือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของบ้าน โดยเฉพาะบ้านเดี่ยว ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงขอบเขตกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ทั้งยังเป็นเหมือนเกราะชั้นนอกที่ช่วยป้องกันอันตรายจากภายนอกให้กับสมาชิกในบ้านได้อีกด้วย
การจะสร้างรั้ว นอกจากจะต้องดูเรื่องของมาตรฐานความมั่นคงแข็งแรง และปลอดภัยแล้ว ยังต้องคำนึงถึงกฎหมายควบคุมอาคาร ซึ่งมีข้อกำหนดต่างๆ เกี่ยวกับเรื่องรั้ว และเจ้าของบ้านควรศึกษาไว้
เรื่องรั้วกับกฎหมาย
สิ่งสำคัญที่เจ้าของบ้าน ต้องรู้ไว้คือ การก่อสร้างรั้วไม่สามารถสร้างได้ตามที่ต้องการ เพราะต้องศึกษาข้อกำหนดต่างๆ เพื่อให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักกฎหมาย โดยมีข้อกำหนดไว้ในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร ดังนี้อาคาร หมายถึง บ้าน อาคารพาณิชย์ โรงแรม ตลาด ห้างสรรพสินค้า อุโมงค์ ท่าจอดเรือ ศาสนสถาน คลังสินค้า โรงงาน ภัตตาคาร สำนักงาน รวมถึงสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ที่บุคคลสามารถเข้าอยู่หรือเข้าใช้สอยได้
● อาคารยังมีความหมายรวมถึง รั้ว กำแพง หรือประตู ที่สร้างขึ้นติดต่อหรือใกล้เคียงกับที่สาธารณะ หรือให้บุคคลทั่วไปใช้สอย
● รั้ว กำแพง หรือประตูที่มีความสูง 10 เมตรขึ้นไป ที่กั้นระหว่างที่ดินเอกชนกับเอกชนด้วยกัน ก็ถือเป็นอาคารด้วยเช่นกัน
● สิ่งก่อสร้างต่างๆ ที่ถือเป็นอาคารตามรายละเอียดดังกล่าว เมื่อจะทำการก่อสร้างจะต้องมีการขออนุญาตก่อสร้างก่อน จึงจะสามารถดำเนินการได้
แต่หากเป็นรั้วที่ก่อสร้างเพื่อกั้นแบ่งเขตระหว่างที่ดินเอกชนกับเอกชนด้วยกันเอง และมีความสูงไม่เกิน 10 เมตร ถือว่าไม่เข้าข่ายเป็นอาคาร และไม่อยู่ในข้อบังคับของกฎหมายควบคุมอาคาร การก่อสร้างจึงไม่ต้องขออนุญาติก่อสร้าง และหากมีกรณีพิพาทกันก็ให้เป็นไปตามข้อตกลงของทั้ง 2 ฝ่าย
หลักการสร้างรั้ว
การสร้างรั้วบ้าน นอกจากการขออนุญาตก่อสร้างตามกฎหมายควบคุมอาคารแล้วยังมีหลักการสร้างรั้วที่ถูกต้องเพื่อให้ให้เกิดปัญหาต่างๆ ตามมาเช่น การสร้างรั้วล้ำเขตที่ดิน และสร้างรั้วสูงเกินไปจากที่กฎหมายกำหนด ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
● รั้วที่อยู่มุมถนนสาธารณะซึ่งมีความกว้างตั้งแต่ 3 เมตรขึ้นไป และมีมุมหักน้อยกว่า 135 องศา เมื่อก่อสร้างต้องมีการปาดมุมรั้วโดยให้ส่วนที่ปาดมุมมีระยะไม่น้อยกว่า 4 เมตร และทำมุมกับแนวถนนสาธารณะ เป็นมุมเท่าๆ กัน
● รั้วที่สร้างขึ้นโดยมีพื้นที่ติดต่อหรือห่างจากถนนสาธารณะน้อยกว่าความสูงของรั้ว ให้ก่อสร้างได้สูงไม่เกิน 3 เมตร เหนือระดับทางเท้าหรือถนนสาธารณะ แต่หากความสูงไม่เป็นไปตามที่ผ่อนผันไว้ การสร้างรั้วจะต้องมีระยะถอยร่น จากถนนสาธารณะ โดยในเขตกรุงเทพมหานคร มีข้อกำหนดคือหากถนนสาธารณะกว้างน้อยกว่า 6 เมตร ความสูงรั้วในด้านที่ยอมให้สร้างชิดเขตถนนสาธารณะจะถูกจำกัดให้มีความสูงได้ไม่เกิน 2 เมตรเท่านั้น
● การสร้างรั้วจะต้องไม่สร้างเกินเขตที่ดินของตนเอง ซึ่งเขตที่ดินในที่นี้มีความหมายรวมถึงพื้นที่ทั้งใต้ดินและบนอากาศ ดังนั้นการสร้างรั้วจึงนิยมทำฐานรากรั้วด้วยฐานรากตีนเป็ด และติดตั้งตัวเสารั้วไม่ให้เอียงล้ำแนวที่ดินที่มีอยู่
● การสร้างรั้วกั้นแนวเขตที่ดินระหว่างเอกชนกับเอกชนด้วยกัน หากตกลงกันได้ก็สามารถสร้างรั้วกั้นโดยให้เส้นเขตที่ดินอยู่กึ่งกลางรั้วได้
เรื่องรั้วควรรู้
● กรณีที่รั้วบ้านที่ไม่ได้ใช้ร่วมกับผู้อื่นมีการล้ม และเป็นการล้มเอง ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินหรือร่างกายผู้อื่น เจ้าของที่ดินจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย แต่หากรั้วถูกทำให้ล้มโดยบุคคลอื่น ผู้เป็นต้นเหตุจะต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย
● กรณีที่รั้วบ้านซึ่งถูกใช้งานร่วมกัน และมีเจ้าของร่วม หากมีการพังหรือล้มเองจะถือเป็นความรับผิดชอบร่วมกันทั้ง 2 ฝ่าย แต่ถ้าฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเป็นคนทำพัง ฝ่ายนั้นต้องรับผิดชอบค่าเสียหาย

แชร์โพสต์นี้ :
ตำแหน่งโฆษณา


ตำแหน่งโฆษณา


ตำแหน่งโฆษณา