วิกฤตการณ์เหล็กแพง ยังคงเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบในอุตสหกรรมต้องเกาะติด
วิกฤตการณ์เหล็กแพง ยังคงเป็นประเด็นที่ผู้ประกอบในอุตสหกรรมต้องเกาะติดเอาเพื่อปรับตัวในการทำธุรกิจวันนี้เรามาดูกันว่าครึ่งปีหลังมีโอกาสที่จะเกิดอะไรขึ้นได้บ้าง เพื่อให้เราปรับตัวได้อย่างทันต่อสถานการณ์ เราได้นำมาฝากถึง 7 ปัจจัยด้วยกันไปดูกันเลยว่ามีอะไรบ้าง
ขอบคุณที่มากจาก : เพจ เหล็ก. com – ชุมชนคนขายเหล็ก
https://www.facebook.com/thaisteelcom/posts/265466732041193
.
1.ดัชนีเศรษฐกิจโลกฟื้นตัวชัดเจน ทั้งดัชนีความเชื่อมั่น (confidence Index) ดัชนีการลงทุน (capital expenditure index) ดัชนีคำสั่งซื้อสินค้า (order index) และดัชนีการจ้างงาน (employment index) ก็ปรับขึ้นใน Q1/2021
.
2.เศรษฐกิจประเทศที่พัฒนาแล้วฟื้น ใน Q1/2021 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 4.3% จากเดิมที่ติดลบใน Q4/2020 เศรษฐกิจจีนขยายตัว 18.3% จาก Q4/2020 ที่ขยายตัว 6.5% และสหรัฐฯ ขยายตัว 6.4% จากที่ขยายตัว 4.3% ใน Q4/20
.
3. ยอดขายรถใหม่เพิ่มขึ้น ในตลาดยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น อินเดีย โดยเฉพาะจีนเพิ่มขึ้น 76% รวมไปถึงยอดขายเครื่องใช้ไฟฟ้าและคอมพิวเตอร์ในตลาดจีนที่เพิ่มขึ้น เช่นกัน
.
4.มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐฯ และจีน โดยสหรัฐฯ จำนวน 1.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ และจีน 506 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ
.
5.ดัชนีก่อสร้างโลกฟื้นตัวทุกประเทศ (Global Construction Activity Index) เป็น +14 ใน Q1/2021 เพิ่มจาก +3 ใน Q4/2020 “CO2 Impact” อุตสาหกรรมเหล็กจีนปล่อย CO2 มากที่สุด ปีละ 1,500 ล้านตัน (ปี 2020) สัดส่วน 20% รองจากอุตสาหกรรมพลังงงาน โดย 1 ตันของ CO2 มีความสูง 10 เมตรและมีปริมาตร 556 ลูกบาศก์เมตร ซึ่ง 1 ลูกบาศก์เมตร = 1,000 ลิตร ทำให้อุตสาหกรรมเหล็กต้องลดกำลังการผลิต ปี 2560 จีนผลิตเหล็กรวม 850 ล้านตัน (เป็น 50% ของโลก จากเดิมที่มีสัดส่วนเพียง 30%) เฉลี่ยเพิ่มขึ้นปีละ 33 ล้านตัน ปี 2561 ผลิต 886 ล้านตัน ความต้องการใช้ภายในประเทศ 810 ล้านตัน
.
6.รัฐบาลจีนต้องการลดกำลังการผลิตเหล็กเพราะถูกกดดันจากนานาประเทศด้วย 2 เหตุผล คือผลิตเหล็กราคาถูกมาทุ่มตลาด และผลกระทบสิ่งแวดล้อม โดยตั้งเป้าลดลงปีละ 150 ล้านตัน เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าว จีนจึงทำ 2 เรื่องคือย้ายฐานการผลิตเหล็กเข้าไปอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวียดนาม 2.เมืองถังชาน (Tangshan) “เมืองหลวงเหล็กของจีน” ห่างจากปักกิ่ง 200 กิโลเมตร อยู่ทางตอนเหนือของเหอเป่ย ลดกำลังการผลิต 30-50% (ผลิตปีละ 114 ล้านตัน) ใน 23 โรงงานถลุงเหล็กของปี 2021 เพราะจีนมีพันธะสัญญาว่า CO2 เป็นศูนย์ในปี 2060 ในขณะที่สหรัฐฯ และยุโรปเป้าหมายในปี 2050
.
7.ข้อพิพาทการค้าจีนกับออสเตรเลีย จีนพึ่งแร่เหล็ก (Iron Ore) จากออสเตรเลีย 60% ราคาปรับขึ้น 114% (จากเมษายน 2563 อยู่ที่ 84 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน เป็น 180 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน ในเมษายน 2564)
แชร์โพสต์นี้ :